วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2563

เทคโนโลยีในอนาคต

↤↤↤↤↤ เทคโนโลยีในอนาคต ↦↦↦↦↦

เทคโนโลยีการส่องกล้อง 

(Gut probe in a pill)


การส่องกล้องในปัจจุบันนั้นค่อนข้างวุ่นวาย ซึ่งโดยปกติคุณหมอจะให้ส่องก็ต่อเมื่อมีความจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น และที่สำคัญยังใช้ไม่ได้กับเด็กทารกหรือเด็กตัวเล็ก ๆ เพราะต้องวางยาสลบ
แต่มีโรคชนิดหนึ่งที่ต้องพึ่งพาการส่องกล้องหรือตรวจอย่างสม่ำเสมอนั้นคือ โรค EED (Environmental enteric dysfunction) เป็นโรคที่ทำให้ลำไส้อักเสบ ส่งผลให้ไม่สามารถดึงโภชนาการจากอาหารที่กินเข้าไปได้ ซึ่งโรคนี้พบมากในประเทศที่ยากจน
            แต่ EED นั้นสามารถลดอาการของความรุนแรงได้หากรู้ก่อน แต่การตรวจรักษาตามพื้นที่ห่างไกลที่เป็นหน่วยพยาบาลเล็ก ๆ ยังคงทำได้ยากอยู่มาก
Guillermo J. Tearney จาก Massachusetts General Hospital จึงได้คิดค้นและสร้างอุปกรณ์ทางการแพทย์ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีขนาดเล็กมาก ๆ เท่ากับขนาดแคปซูลของยาสามารถกลืนเข้าไปได้เลย (แต่มีสาย) ซึ่งแคปซูลนี้ก็จะทำหน้าที่ส่องกล้อง และยังสามารถตัดชิ้นเนื้อออกมาเพื่อตรวจสอบต่อได้ด้วย
ทำให้การตรวจรักษาโรค EED นั้นสามารถทำได้ในพื้นที่ห่างไกลหรือหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ได้ และมีราคาถูกขึ้น และแคปซูลจิ๋วนี้ก็ยังถูกพัฒนาต่อเพื่อให้ใช้ได้ในเด็กทารกอีกด้วย

เครื่องตรวจ ECG บนข้อมือคุณ 
(ECG on your wrist)


ECG คือเครื่องที่หมอใช้ตรวจว่าเรามีโอกาสเกิดโรคหัวใจ เกิดสโตรก หรือเปล่า ซึ่งเป็นการตรวจความผิดปกติของอัตราการเต้นของหัวใจ สามารถตรวจได้ที่คลินิกหรือโรงพยาบาล แต่คนที่ตรวจบ่อย ๆ ก็จะมีความเสี่ยงในโรคเหล่านี้ลดลง
แต่ตอนการตรวจ ECG สามารถทำได้ใน smart watches แล้ว และ FDA ก็ได้ให้การรับรองแล้วในปี 2017 อย่างแบรนด์ที่เราน่าจะรู้จักกันดีอย่าง Apple Watch เวอร์ชั่นล่าสุดก็มีฟังก์ชั่นนี้ แน่นอนในเรื่องความแม่นยำยังคงห่างกับที่เราตรวจตามโรงพยาบาลเพราะอุปกรณ์ที่โรงพยาบาลใช้กันอยู่มีเซ็นเซอร์ถึง 12 อัน แต่ใน Apple Watch นั้นมีเพียงอันเดียว
แต่มีสตาร์ทอัพแห่งหนึ่งที่ชื่อว่า AliveCor เพิ่งได้ไปพรีเซ้นต่อสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา ว่าตอนนี้เขาสามารถทำนาฬิกาที่มีเซ็นเซอร์สองอันและสามารถตรวจจับโรคหัวใจวายบางประเภทได้ ถ้าเกิดทำได้จริงอันนี้จะช่วยป้องกันโอกาสการเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวกับหัวใจได้เยอะเลยทีเดียว และเราน่าจะเห็นอุปกรณ์นี้ถูกวางจำหน่ายในอีกไม่นาน

วัคซีนมะเร็งที่ไม่ทำลายเซลล์ที่ดี
 (Custom cancer vaccines)


เป็นที่รู้กันว่าการทำคีโม นั้นจะไปทำลายเซลล์ที่ดีด้วย ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบข้างเคียงที่ตามมาหลายอย่าง ในปี 2003 ก็มีความก้าวหน้าที่ยิ่งใหญ่ทางการแพทย์ และ
วงการไบโอเทค ก็คือการที่เราสามารถทำแผนที่จีโนมมนุษย์ (human genome mapping) ในโครงการที่ชื่อว่า Human Genome Project  
สิ่งที่เกิดขึ้น ปีหลังจากนั้นก็คือนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยสามารถที่จะลำดับ (sequence) เซลล์ที่เป็นเนื้อร้ายของมะเร็งได้ รวมถึงพบว่าหากเทียบกับเซลล์ที่สุขภาพดี จะเห็นได้ว่ามีเซลล์ที่แตกต่างกันเยอะมาก และทุกชิ้นของเนื้อร้ายของแต่ละคนก็จะแตกต่างกันด้วย
มีบริษัทแห่งหนึ่งในเยอรมันที่ชื่อ BioNTech บอกว่าเราสามารถทำวัคซีนเข้าไปสู้กับเนื้อร้ายเหล่านี้ได้ วิธีการคือให้ทีเซลล์ (เซลล์ภูมิคุ้มกัน) หาและทำลายเซลล์เนื้อร้ายนั้น
ในปี 2017 เดือนธันวาคม ก็มีการทดลองจริง และได้ผลการทดลองเป็นอย่างดี หากกระบวนการนี้ถูกนำมาใช้จริงได้เมื่อไหร่ ก็จะทำให้เราไม่ต้องทำลายเซลล์ที่ดีระหว่างการรักษา แต่ก็ยังมีข้อจำกัดที่เป็นเรื่องท้าทาย เพราะการรักษานั้นจะต้องใช้ตัวอย่างเนื้อร้ายจากของแต่ละคน และกระบวนการในการลำดับเซลล์ (sequence) นั้นยังมีราคาที่สูงอยู่มาก

ความชำนาญของหุ่นยนต์ 
(Robot dexterity)

ในตอนนี้หุ่นยนต์สามารถทำงานที่ซ้ำ ๆ ได้แม่นยำและรวดเร็วมาก (งานประเภทสายพานในโรงงาน) แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในการทำงานได้ด้วยตัวเอง อย่างเช่น หากมีคนไปขยับเขยื้อนสิ่งของที่หุ่นยนต์กำลังจับอยู่เพียงหนึ่งนิ้ว ก็อาจจะทำให้มันไม่สามารถทำงานต่อไปได้
คือหุ่นยนต์ยังไม่มีความสามารถในการลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง (trial and error) แต่ในอนาคตหากเราสามารถทำเรื่องนี้ได้ เราอาจจะได้เห็นหุ่นยนต์สามารถทำงานที่ดูง่าย ๆ แต่ซับซ้อนอย่างการล้างจาน (ซับซ้อนสำหรับหุ่นยนต์) หรือแม้กระทั่งงานที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษอย่างการดูแลผู้ป่วย


พลังงานนิวเคลียร์แบบใหม่
 (New-wave nuclear power)



ตอนนี้พลังงานนิวเคลียร์ได้พัฒนาเครื่องปฏิกรณ์ แบบฟิซชั่น (Fission) มาถึงรุ่นที่ แล้ว ซึ่งน่าจะได้ใช้กันในปี 2020 ซึ่งจะเป็นแหล่งพลังงานที่ถูก และปลอดภัยกว่าเดิม
แต่ที่มนุษยชาติรอคอยคือเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ แบบฟิวชั่น (fusion – ปลอดภัยกว่า ของเสียน้อยกว่า) ซึ่งน่าจะได้ใช้ในปี 2030 ซึ่งเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ฟิวชั่น คงเป็นคำตอบเรื่องพลังงานสำหรับมนุษยชาติในอนาคต


การคาดการณ์การคลอดก่อนกำหนด 

(Predicting preemies)



การคลอดก่อนกำหนดเป็นเรื่องที่ค่อนข้างอันตรายและเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีโอกาสเสียชีวิตได้ หรือมีโอกาสที่จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพของเด็กได้ ที่ผ่านมากระบวนการที่จะคาดการณ์การคลอดก่อนกำหนดนั้นวุ่นวายมาก และมีราคาแพงแต่ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบวิธีการใหม่ที่ง่ายและราคาถูกลงมาก ด้วยการตรวจ DNA และ RNA ซึ่งราคาของเทคโนโลยีนจะอยู่ที่ประมาณ 10 เหรียญ


เนื้อสัตว์ที่เกิดการเพาะเลี้ยงเซลล์
 (The cow-free burger)


สหประชาชาติคาดการณ์กันว่าในปี 2050 จะมีประชากรโลกประมาณ 9.8 พันล้านคน และคนก็จะบริโภคเนื้อสัตว์เยอะขึ้น อาจจะเนื่องจากความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น จะทำให้คนบริโภคเนื้อสัตว์มากขึ้น 70% จากที่เราบริโภคกันอยู่ในทุกวันนี้
แต่แม้ในอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์ที่มีประสิทธิภาพก็ยังส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมมากอยู่ดี อย่างเช่นโปรตีนที่มาจากสัตว์จะใช้น้ำมากกว่าพืช ถึง 4-25 เท่า ใช้พื้นที่มากกว่า 6-17 เท่า และใช้พลังงานจากฟอสซิลมากกว่า 6-20 เท่า การจะให้คนหยุดกินเนื้อคงจะเป็นไปได้ยาก
 ตอนนี้ก็เลยมีการทำ lab-grown ซึ่งแบ่งออกเป็น แบบ 1.) ทำมาจากกล้ามเนื้อของสัตว์จริง เวอร์ชั่น lab-grown รสชาติที่ได้ในตอนนี้ค่อนข้างใกล้เคียงของจริงมาก คาดว่าจะสามารถวางจำหน่ายได้ในปีหน้า แต่ประเด็นคือ lab-grown ก็ไม่ได้ดีต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเท่าไหร่นัก
กับอีกเวอร์ชั่นหนึ่งที่เป็นแบบ plant-based ทำมาจากโปรตีนถั่ว มันฝรั่ง หรือพืชที่มีโปรตีนอื่น ๆ และนำไปทำให้มีความใกล้เคียงกับเนื้อ ซึ่งแบบ plant-based นั้นส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่ามาก
อย่างในบริษัทอย่าง Beyond Meat (บิล เกตส์ ลงทุนในบริษัทนี้ด้วย) ที่ทำเนื้อสัตว์แบบ plant-based นั้นเริ่มขายแล้วในแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีจำหน่ายแล้วในซุปเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหารกว่า 30,000 แห่ง และขายไปแล้วมากกว่า 25 ล้านชิ้น

การจับคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากอากาศ 
(Carbon dioxide catcher)


ในตอนนี้ทั่วโลกก็มีการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ชั้นบรรยากาศ แต่เราก็ยังทำเรื่องนี้กันได้ช้ามาก ๆ UN เองก็บอกว่าจะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อีก 100,000 ล้านตันถูกปล่อยเข้าไปในชั้นบรรยากาศในศตวรรษนี้ แล้วก็เป็นหนึ่งในปัญหาโลกร้อนที่เราต้องแก้ไขกันอยู่ในทุกวันนี้
แต่มีข่าวดีก็คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้นสามารถถูกจับแยกออกมาได้ด้วยต้นทุนประมาณ 100 เหรียญ ต่อหนึ่งตัน แต่ประเด็นคือแยกออกมาแล้วเราจะทำอะไรต่อ เพราะต้นทุนในการทำลายก๊าซนี้นั้นสูงมาก
สตาร์ทอัพจากแคนาดาที่ชื่อว่า Carbon Engineering (บิล เกตส์ ลงทุนในสตาร์ทอัพนี้) กำลังพยายามทำการทดลองเพื่อที่จะนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาสังเคราะห์เป็นพลังงาน แต่อาจจะไม่สามารถช่วยลดได้มากนักเพราะที่สุดแล้วก๊าซก็จะถูกปล่อยกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศอยู่ดี แต่บิล เกตส์ ก็มองว่า แม้ว่าเราจะยังไม่มีทางเลือกมากนักแต่เราก็ต้องลงมือทำอยู่ดี

สุขาที่ไม่มีท่อระบายน้ำ
 (Sanitation without sewers)


มีตัวเลขที่น่าสนใจออกมาว่าประชากรราว ใน ของโลก หรือประมาณ 2.3 พันล้านคน ไม่มีห้องดี ๆ ใช้ เนื่องจากข้อจำกัดด้านทรัพยากรต่าง ๆ และจากสาเหตุนี้เองทำให้คนจำนวนมากกินอาหารที่ปนเปื้อนของเสียจากมนุษย์ และทุกปีก็มีคนเสียชีวิตจากเรื่องนี้ประมาณเกือบ ล้านคน ตัว บิล เกตส์ เองก็มีส่วนร่วมในเรื่องนี้โดยเขาบอกว่า 
Toilet Challenge คือการทำยังไงก็ได้ให้เอาส้วมไปอยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกล พื้นที่ที่เดินท่อไม่ได้ หรือยากจนมาก ๆ ซึ่งมีส้วมแบบใหม่ที่ออกแบบจาก มหาวิทยาลัยเซาท์ฟลอริดา ใช้เยื่อชนิดหนึ่ง (membrane) ซึ่งเล็กกว่าแบ็คทีเรียในการช่วยทำความสะอาดและกำจัดของเสีย
อีกอันเป็น Biomass Controls ใช้ความร้อนเพื่อเปลี่ยนของเสียให้สามารถนำไปใช้ทำปุ๋ยต่อได้ แต่ปัญหาคือแบบ Biomass Controls นั้นเหมาะกับหมู่บ้านขนาดใหญ่ที่ใช้กันวันละเป็นหมื่น ๆ คน ส่วนแบบ membrane ก็เหมาะกับใช้ขนาดเล็กมาก ๆ ทำให้ทั้งสองแบบยังไม่ตอบโจทย์ ตอนนี้ก็มีหลายคนที่ร่วมงานกับ บิล เกตส์
เพื่อพัฒนานวัตกรรมเกี่ยวกับสุขาแบบไร้ท่อ เพื่อให้ใช้ได้จริง ราคาถูก และสามารถใช้กันได้โดยทั่วไป ก็ต้องรอดูกันต่อไปว่าจะเป็นไรอย่างครับ

ผู้ช่วยเสียงอัฉริยะ 
(Smooth-talking AI assistants)


อันนี้มาแน่นอน ผู้เล่นรายหลักก็จะมี Google, Alibaba, Amazon 1-2 ปีนี้เราจะได้เห็นสินค้าที่สามารถใช้งาน ผู้ช่วย AI เหล่านี้ออกมาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตอนนี้ Google assistants ก็มีเวอร์ชั่นอัพเกรดที่ชื่อว่า Google Duplex ที่สามารถทำงานได้เหมือนคนมากยิ่งขึ้น
ด้วยเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างมากทำให้ ผู้ช่วย AI นั้นเก่งมากขึ้นเยอะมาก จนสามารถที่จะจองร้านอาหาร ร้านทำผม ให้คุณได้แล้ว
แต่ปัญหาหลักของ AI assistants (ผู้ช่วย AI) คือ มันยังไม่สามารถเข้าใจบริบทของภาษามนุษย์ได้ทั้งหมด แต่ในอนาคตเราอาจจะได้เห็น AI assistants เป็นได้ตั้งแต่ พี่เลี้ยงเด็ก ครู หรือแม้เพื่อน ก็อาจจะเป็นไปได้

แหล่งอ้างอิง : https://missiontothemoon.co/10-technologies-of-the-future-world/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น